เล่านิทาน

เล่านิทานที่โรงเรียนอนุบาลเล็กโกเมศอนุสรณ์

ตื่นเต้น ปกติจะเล่าให้เด็กฟังเป็นคนๆไป ไม่เคยเล่าเป็นกลุ่ม
เด็กๆ ตาใส ยิ้มตาหยี รอฟังนิทานที่จะเล่าอย่างใจจดใจจ่อ

สิ่งที่ได้จากการไปอ่านหนังสือให้เด็กฟังวันนี้
- อ่าน กับ เล่า ไม่เหมือนกัน อ่าน คือ อ่านไปตามตัวหนังสือ อ่านอย่างมีชีวิตชีวา คือ
อ่านไปตามตัวหนังสืออย่างเป็นธรรมชาติ มีจังหวะหยุด พัก  ให้เด็กได้ดูภาพในหนังสือ 
ไม่อ่านเกินคำที่มี เพราะ ภาษา ในหนังสือ ถูกคิดและกลั่นกรองมาแล้วสำหรับเด็ก 

- การอ่านอย่างมีชีวิตชีวา ทำให้เด็กจับจ้องกับหนังสือ หนังสือจะมีพลังอย่างมาก

- การ เล่า คือสอดแทรกความสนุก ถาม ตอบ พูด เพิ่มเติมต่อจากในหนังสือ เด็กจะตื่นเต้นมากจน
ลืมเรื่องราวในหนังสือที่อยากจะบอกไป อันนั้นถือเป็นกิจกรรมการเล่นกับหนังสือ

- เด็กๆ ตั้งใจฟังนิทาน และพร้อมใหกำลังใจเราเสมอ ถึงแม้ไม่เข้าใจ ก็จะทำเป็นเข้าใจ ^^!

- นิทาน 1 เรื่อง เด็กบางคนก็เข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเด็ก

- เด็กเข้าใจหนังสือได้มากกว่าที่ผู้ใหญ่คิด เพราะเด็กไม่มีกรอบในการเข้าถึงหนังสือ 

- ความเป็นผู้ใหญ่ ความรู้ เป็นอุปสรรค ในการเข้าถึงหนังสือสำหรับเด็ก

- เด็กไม่สนใจเราหรอก ตาจ้องที่หนังสือ แต่หัวใจก็จินตนาการไปไกลลิบ

- หนังสือนิทานไม่เคยพอสำหรับเด็ก เราจะได้ยินเสียง เอาอีก เอาอีก ทุกครั้งที่จบเรื่อง
ฯลฯ

ยังมีอีกมากมายที่นึกไม่ออกตอนนี้ แต่ที่น่าคิด และต้องเอากลับมาคิดต่อ คือ
ความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำหนังสือภาพให้เด็กอ่านสักเรื่องหนึ่ง
เราควรทำให้เด็กสนุก และทำเพื่อเด็กเป็นอันดับแรก ต้องคิดให้มากที่สุด 
และถ่ายทอดออกมาให้ง่ายที่สุด ใช้จินตนาการให้มาก รู้จักเด็กให้มากความรู้ ความเข้าใจ 
เหตุผลแบบผู้ใหญ่ เอาทิ้งไว้ก่อน คิดแบบเด็ก เล่นแบบเด็ก เข้าไปในหัวใจเด็ก ยืนอยู่ข้างเดียวกับเด็ก เป็นพวกเดียวกัน
ทำต่อไป
ขอให้มีความสุขค่ะ




Popular Posts