Picture book : BA BA

บา บา
มูลนิธิ SCG
กองบรรณาธิการ : ครูชีวัน วิสาสะ วิภาวี ฉกาจทรงศักดิ์ วลัยรัตน์ ประภากมล
สุทธินุช กาญนะวณิชย์ จิระสุดา ศุภศิริพันธ์ุ
ISBN : 9786167484327

“ ...สดใส สนุกสนาน ระทึกใจกับเพื่อนตัวเล็กๆ ที่จะนำพาเด็กๆ 
ไปพบกับความงดงาม ความอบอุ่นจากหัวใจดวงใหญ่ของ บา บา 

บา บา
     เพื่อนรักทั้งสี่ตัว เสือดาว หมี ฮิปโป และช้าง ไปหาผลไม้ในป่า (ที่สวยงามอย่างอัศจรรย์)
เมื่อได้ผลไม้เต็มตะกร้าก็เล่นกันหน่อย และบังเอิญไปพบตะกร้าปริศนาใบใหญ่ที่ว่างเปล่า 
เพื่อนรักทั้งสี่ตัวจึงแบ่งผลไม้ใส่ตะกร้าใบใหญ่แต่ว่างเปล่านั้น และเหตุการณ์ระทึกขวัญ
ก็เกิดขึ้นในแทบจะทันทีทันใด เสือดาว หมี ฮิปโปถูก บา บา สัตว์ยักษ์ปริศนาจับไป 
แล้วจะโดนบาบาต้มกินมั้ย หรือกินทั้งดิบ ๆ ส่วนช้างตัวน้อยที่บังเอิญไม่ถูกจับไป จะทำอย่างไร...

BA BA
The Elephant, hippopotamus, Bear, and Leopard find the fruit in the wild.
All four friends were full of fruit baskets and asked to play before returning home.
Suddenly to see a large basket is empty. They then divided the fruit into a large basket. 

and the thriller occurs almost immediately.
The hippo bear and leopard was the monster captured.
Will they be saved from being a monster to eat? then the elephant do? 
.......................................................................................................................................................

     จุดเริ่มต้นของความดีงามในหนังสือเล่มนี้ที่ควรกล่าวถึงเป็นลำดับแรก คือ 
นักประพันธ์หนังสือภาพคู่ขวัญ วชิราวรรณ ทับเสือ และ กฤษณะ กาญจนาภา 
ที่สร้างสรรค์หนังสือภาพเข้าไปอยู่ในใจเด็กมาแล้วหลายต่อหลายเล่ม บา บา 
คือการสื่อถึงธรรมชาติของความเป็นเด็กที่เริ่มต้นด้วยการกิน(เพื่อเติบโตแข็งแรง)
ตามด้วยความสนุก ความซน ผสานจินตนาการ ที่ลึกลับ ท้าทาย และปลูกฝัง
สิ่งที่สำคัญของความเป็นมนุษย์(ถึงแม้ตัวละครอยู่ในรูปสัตว์) คือ ความมีน้ำใจ 
ความเอื้ออาทร ความกล้าหาญ เพื่อนไม่ทิ้งเพื่อน สิ่งเหล่านี้อยู่ในหนังสือ
ที่มีการใช้ภาษาไม่ฟุ่มเฟือย ภาพประกอบที่งดงามชวนตะลึง

ครูชีวัน วิสาสะ
นักประพันธ์หนังสือภาพสำหรับเด็ก
.......................................................................................................................................................
ขอขอบคุณครูชีวัน วิสาสะ ที่เขียนเรื่องย่อ คำนิยม และอีดิท หนังสือเล่มนี้ 
(ยังมีอะไรที่เรายังไม่รู้อีกมาก ครูช่วยสอน ปรับ เติมแต่ง ในจุดอ่อนที่เรามองไม่เห็น) 
จนสำเร็จออกมาเป็นเล่ม
ขอบคุณพี่เอ๋ วิภาวี ฉกาจทรงศักดิ์ ที่คอยปรับปรุง แก้ไข แนะนำ ให้กำลังใจ บา บา เสมอมา
ขอบคุณ มูลนิธิ SCG ที่เลือกให้เราได้ทำ บา บา เล่มนี้ค่ะ
ขอบคุณเด็กๆ และนักอ่านทุกคนที่ยอมเป็นเพื่อนกับ บา บา 
.........................................................................................................................................................

บรรณาธิการหนังสือเด็ก ทำอะไรบ้าง สำคัญอย่างไร ทำไมหนังสือเด็ก ง่ายๆ ต้องมีบรรณาธิการ
ชวนมาดูการทำงานของ บก กับ นักเขียน นักวาดกันค่ะ
ให้ดูตัวอย่างของการทำงานระหว่างนักเขียน และ บก ว่าทำอะไร อย่างไรบ้าง
และถ้ามีเล่มที่พิมพ์จริง เปิดเปรียบเทียบไปด้วย จะเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

อ่านวิธีคิดและทำหนังสือภาพสำหรับเด็กเรื่อง บา บา ได้ที่นี่ค่ะ >> วิธีคิดและทำ บา บา 

อ่านที่คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนแนะนำได้ที่นี่ค่ะ >> บา บา



ต่อจากนี้ คือเล่มที่ปริ้นท์กระดาษธรรมดา เรียกว่าการทำ mock up
เพื่อให้เห็นการอ่าน การเปิดหน้าหนังสือได้ชัดเจนขึ้น


เราคิดคำว่า ‘ป่าทึบ’ ครูบอกว่า เข้าเรื่องเลย รู้อยู่แล้ว
ช้าง หมี เสือดาว และฮิปโป ถูกเรียงใหม่ เป็น เสือดาว หมี ฮิปโป และช้าง
กำลังทำอะไร เราใช้คำว่า  ‘แวะพักเล่นกันนิดหน่อย’
การแวะพักเล่น คือ ผู้ใหญ่ สำหรับเด็ก เวลาเล่น คือเล่น ไม่มีพักเล่น
ถูกแก้เป็น ‘ชวนกันเล่น’ แล้วเล่นอะไร ให้ระบุไปเลย 
กลายเป็น ‘เล่นทอยเส้นก่อนกลับบ้าน’



ถึงตาของช้างโยนบ้าง พี่เอ๋ แก้เป็น หนึ่ง สอง สาม ฮึบ 
การวางตัวละคร ออกแบบให้อ่านลื่นไหลไปกับภาพ
ภาพเลยถูกแก้ ย้ายช้างมาหน้าซ้าย และ สลับ ฮิปโป หมี เสือดาว มาหน้าขวา
(โปรดดูเล่มจริงประกอบ)



คำบรรยายถูกตัดออกหมด เปลี่ยนเป็น โอ้โห โอ้โห โอ้โห
เพื่อดึงเด็กให้รู้สึกเหมือนเข้าไปร่วมโยนด้วย


หน้านี้ถูกปรับเป็น อ๊ะ อยู่ตรงนี้ไง แค่นี้พอ
ให้เด็กได้คิดด้วยว่า ใครพูดก็ได้ ไม่ต้องชี้นํา



หน้านี้อยากให้เด็กๆ คุยกัน มีสามประโยค
“ตะกร้าใบใหญ่มาก”
“ไม่เห็นมีอะไรในตะกร้าเลย”
“ต้องหิวมากแน่ๆ”
ใครพูดก็ได้ พูด 3 ตัว แล้วอีกตัวล่ะ ทำไมไม่พูด แล้วใครไม่พูด
คำตอบอยู่ในหน้าถัดไป


จากหน้าก่อน เมื่อพูดแล้ว ก็พูดต่อ เพราะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่อง
“เอ้า หยิบใส่ เทใส่”
“ใส่ไปหมด ได้แค่ครึ่งตะกร้าเอง”
“จะอิ่มรึเปล่านะ”

แต่มีใครจะสังเกตไหม ว่าใครที่ไม่พูด
*ตรงนี้เราคิดว่า เวลาเด็กที่ให้ของกับใคร เขาจะให้จนหมด 
แต่พี่แต้วช่วยแนะนำว่า ก็ยังมีเด็กบางคนที่พอจะคิดได้ว่า เหลือไว้ให้ตัวเองสักหน่อยนึงนะ
เลยเป็นที่มาของกล้วย 1 ผล 



เวลาตกใจ ไม่มีใครสงสัยหรอกว่า นั่นเสียงอะไร ประโยคนี้เลยถูกตัดออกไป



เวลาตกใจ ไม่มีใครคิดมาก หนี! อย่างเดียว
และ คำว่า แย่แล้ว ความรู้สึกแย่ เป็นความคิดของผู้ใหญ่ เด็กๆ ไม่คิดหรอกว่าอะไรแย่
คำว่า แย่แล้ว จึงถูกตัดออกไป


จากประโยค ตัวอะไรน่ะ มีตะกร้าใหญ่เบ้อเริ่ม
ใส่ความคิดของช้างลงไป และนำเด็กไปในทิศทางที่เราต้องการ  
“ถูกจับไปกินแน่ๆ 
ทำยังไงดี...”



จากประโยคเดิม ‘รอเดี๋ยวนะเพื่อนๆ ช้างกำลังมาช่วยแล้ว’
ปรับใหม่เป็น ‘ต้องช่วยเพื่อนให้ได้’

ทำไมถึงปรับ เพราะ อยากให้เด็กไม่กลัว หน้าก่อนนี้บอกเด็กว่าเพื่อนถูกจับไปกินแล้ว
หน้านี้ต้องแก้ไขสถานการณ์ บอกเด็กๆ ว่า ให้เข้มแข็งนะ



หน้านี้ตัดคำออกไปหมด เพื่อทิ้งไว้ให้เด็กคิดบ้าง
ไม่ต้องชี้นำทั้งหมด คิดอะไร อย่างไรก็ได้
ปรับเสียงร้องของ บา บา เป็นสีฟ้า พี่เอ๋บอกว่า เสียงร้อง บอกใบ้ว่า ไม่น่ากลัวนะ



เวลาเกิดเหตุการณ์น่าตกใจ บอกให้หยุด ก็ไม่เคยมีใครหยุดเลยสักครั้ง
จาก ‘หยุดนะ’ ครูแก้เป็น ‘ช้างบุก!’



เข้าใจผิดกันไปใหญ่โตเลยละ
เฉลยให้เด็กๆ โล่งใจแล้วนะ



สุดท้าย ถ้าสังเกตจะเห็นว่า พูดกันทุกตัว 
ยกเว้น บา บา กับ งา งา

ถ้าได้อ่านเล่มจริง มีประโยคสำคัญที่เพิ่มมาเพื่อเฉลย คลี่คลายเรื่อง และแนะนำตัวละครหลัก
ให้เด็กเข้าใจไปพร้อมๆ กัน ด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว
อยากรู้ ดูได้จากเล่มจริงนะคะ
.................................................................
เล็กๆ น้อยๆ กับการทำงาน ระหว่างบรรณาธิการ นักเขียน และนักวาด
หวังว่าจะเกิดประโยชน์กับผู้ที่สนใจทำหนังสือเด็กนะคะ
ขอบคุณที่ติดตามอ่าน ขอให้มีความสุขค่ะ
*ถ้าคิดอะไรออกอีกจะมาเขียนเพิ่มค่ะ


Popular Posts