ขั้นตอนการทำหนังสือภาพสำหรับเด็ก
เรื่อง ขนมของแม่
(นี่เป็นวิธีการทำงานคร่าวๆ ในแบบของเราจ้ะ)
(นี่เป็นวิธีการทำงานคร่าวๆ ในแบบของเราจ้ะ)
สำหรับคนที่สนใจงานหนังสือภาพสำหรับเด็กอย่างจริงจัง ค่อยๆทำ ค่อยๆศึกษา ทุกอย่างไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว วิธีของเราใช่ว่าจะถูกทั้งหมด
เพียงแค่รู้แนวทางแล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับวิธีของตัวเองก็จะทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ
เพียงแค่รู้แนวทางแล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับวิธีของตัวเองก็จะทำงานได้อย่างมีความสุขค่ะ
หลังจากที่คิดโครงเรื่องในหัวแล้วว่าหนังสือเล่มนี้จะไปในทิศทางไหน จะบอกอะไร จะทำให้ใครอ่าน
ก็มาลงมือ Sketch เรื่องราวทั้งหมดคร่าวๆ
พอ Sketch เล็กๆ แล้วก็มาดูใหญ่ๆกันว่าจะมีอะไรตรงไหนบ้าง
เริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่องที่ยังเป็น ขนมอะไรเอ่ย ที่กินไม่มีวันหมด
ยาวมาก แต่มันก็คือประเด็นสำคัญของเรื่องทั้งหมด
เริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่องที่ยังเป็น ขนมอะไรเอ่ย ที่กินไม่มีวันหมด
ยาวมาก แต่มันก็คือประเด็นสำคัญของเรื่องทั้งหมด
เริ่มจากการออกแบบตัวละคร ทำไมต้องเป็นเด็กผู้ชาย จะมีสัตว์อะไรในหนังสือบ้าง
หนังสือภาพที่ดีควรมีพื้นที่ให้เด็กได้เข้าไปแทรกตัวอยู่ในนั้น
เราแก้ไขปรับปรุงไปตามที่พี่แต้วแนะนำ บางทีก็ต้องทิ้งไว้แล้วกลับมาดูใหม่ ว่ามันยังใช้ได้อยู่ไหม
ไม่คิดเข้าข้างตัวเองเด็ดขาด
หนังสือภาพที่ดีควรมีพื้นที่ให้เด็กได้เข้าไปแทรกตัวอยู่ในนั้น
เราแก้ไขปรับปรุงไปตามที่พี่แต้วแนะนำ บางทีก็ต้องทิ้งไว้แล้วกลับมาดูใหม่ ว่ามันยังใช้ได้อยู่ไหม
ไม่คิดเข้าข้างตัวเองเด็ดขาด
วาดเพิ่มเติม ลองลงสีหาแนวทางว่าจะไปทางไหนดี
ปรากฎว่า สีแรงไป ขนมของแม่ เป็นเรื่องราวน่ารัก สำหรับเด็ก 3 ขวบขึ้นไป
พี่แต้วแนะนำว่า ตัวแทนเด็กเป็นคน น่าจะเปลี่ยนดีกว่า
จะได้มีความอ่อนโยนและเข้าถึงเด็กได้มากกว่านี้
สีเดิมที่ใช้เป็นโปสเตอร์ และอะครีลิกหนาหนัก
จะได้มีความอ่อนโยนและเข้าถึงเด็กได้มากกว่านี้
สีเดิมที่ใช้เป็นโปสเตอร์ และอะครีลิกหนาหนัก
เปลี่ยนเป็นลูกหมี ออกแบบตัวละครใหม่ให้ลงตัวก่อน
กลับไปเริ่ม Sketch ใหม่ทั้งหมดอีกรอบ และจัดการให้ลงหน้า
กลับไปเริ่ม Sketch ใหม่ทั้งหมดอีกรอบ และจัดการให้ลงหน้า
เมื่อ Sketch ผ่าน ก็ลงมือลงสีจริงกันเลย
คราวนี้เปลี่ยนมาใช้สีชอล์ค ให้ความรู้สึกถึงขนมนุ่มๆ หอมๆ ปุกปุย ประมาณนั้น
ทำไปแก้ไป รื้อไป ภาพบางภาพ เมื่อลงจริงถึงจะเห็นข้อผิดพลาด
คราวนี้เปลี่ยนมาใช้สีชอล์ค ให้ความรู้สึกถึงขนมนุ่มๆ หอมๆ ปุกปุย ประมาณนั้น
ทำไปแก้ไป รื้อไป ภาพบางภาพ เมื่อลงจริงถึงจะเห็นข้อผิดพลาด
เช่นภาพนี้ เป็นภาพที่กินอาหารกันอย่างสนุกสนาน เป็นหน้าจบ
ต้องให้เด็กรู้สึกอิ่มเอม ประทับใจ สนุกสนานอย่างเต็มที่
และเมื่อมันยังไม่เต็มที่...!
จึงต้องแก้ต้นฉบับใหม่ ให้มันเต็มที่กว่านี้อีก เขียนใหม่นั่นเอง ! ก็เลยออกมาแบบนี้ ^^
ใส่ความรู้สึกเข้าไปในงาน รู้สึกถึงการกินเสียงดังจุ๊บจั๊บๆ ของบรรดาเด็กๆทั้งหลายที่อร่อยอย่างเต็มที่
มันจะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนก็ช่าง ก็เด็กนี่นะ
ใส่ความรู้สึกเข้าไปในงาน รู้สึกถึงการกินเสียงดังจุ๊บจั๊บๆ ของบรรดาเด็กๆทั้งหลายที่อร่อยอย่างเต็มที่
มันจะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนก็ช่าง ก็เด็กนี่นะ
มาถึงภาพปก ครั้งที่ 1
นิ่งไป ไม่ดึงดูด การจัดวางตัวหนังสือ เรื่องสี ขนาดตัวอักษร หรือแม้แต่ตัวอักษรที่เลือกใช้
ทุกอย่างผ่านกระบวนการคิดแล้วทั้งสิ้น
ทุกอย่างผ่านกระบวนการคิดแล้วทั้งสิ้น
ภาพปก ครั้งที่ 2
เกือบแล้ว แต่ยังขาดอะไรอีกนิด!
และภาพปก ครั้งที่ 3
เห็นเต็มตัว และ มีเพื่อนๆ เข้ามาช่วยเพิ่มความสนุกสนานเข้าไปอีก
เห็นเต็มตัว และ มีเพื่อนๆ เข้ามาช่วยเพิ่มความสนุกสนานเข้าไปอีก
เย้! สำเร็จ เสร็จไปอีกเล่ม
นี่คือขั้นตอนการทำงานคร่าวๆ ที่ผ่านกระบวนการคิด ไตร่ตรอง
ทั้งบรรณาธิการ (พี่แต้ว ระพีพรรณ พัฒนาเวช)
ทั้งบรรณาธิการ (พี่แต้ว ระพีพรรณ พัฒนาเวช)
นักเขียน และนักวาด แก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะเป็นที่พอใจ จนออกมาดีที่สุดในขณะนั้น
ตอนนี้ก็ยังต้องเรียนรู้กันต่อไป
ครั้งหน้าจะมาเล่าให้ฟังเรื่องการดูเพลท โรงพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ นะถ้าไม่ลืม !
ครั้งหน้าจะมาเล่าให้ฟังเรื่องการดูเพลท โรงพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ นะถ้าไม่ลืม !